คลังเก็บป้ายกำกับ: อุตสาหกรรม

ไทยออยล์ เปิดโรงงานผลิตสาร LAB และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก อย่างเป็นทางการ

ศรีราชา-(3 ส.ค. 59) ที่ บริเวณหน้าอาคารสำนักงาน Sitr Office โรงกลั่นไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โดยนายคุรุจิต นาครทรรพ ประธานกรรมการ เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตสาร LAB ของบริษัท ลาบิกซ์ จำกัด และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก 2 โครงการ ของบริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด โดยมีผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมพิธี อาทิ นายอธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้จีดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) นายทาคุ โมริโมโตะ กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัจิการ กลุ่มธุรกิจเพอฟอร์แมนซ์แมททีเรียล บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี จำกัด นายสุชาติ มัณยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด และนายชาลี บาลมงคล กรนมการผู้จัดการ บริษัท เอสพีพี จำกัด

S__5480472

นายอธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกีด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัทฯ ผู้บริหารและพนักงานมีความยินดีและมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการของธุรกิจทั้งสองธุรกิจในวันนี้ ซึ่งถือเป็นวันครบรอบ 55 ปี ของการก่อตั้งโรงกลั่นไทยออยล์อันเป็นที่ประจักษ์ถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ โดยการมุ่งเน้นการเติบโตในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักที่บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญ (Core Business) นั้นเป็นหนึ่งกลยุทธ์ของเครือไทยออยล์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และลดความผันผวนของการดำเนินธุรกิจ โดยโครงการผลิตสาร Linear Alkyl Benzene (LAB) และโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก 2 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดธุรกิจเครือไทยออยล์ ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว”

โรงงานผลิตสาร LAB เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนสิงหาคม 2556 การก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2558 นับเป็นโครงการผลิตสาร LAB รายแรกของประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการนำเข้าสาร LAB จากต่างประเทศ ถึง 3,500-4,000 ล้านบาทต่อปีแล้ว ยังสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้ถึง 6,000 ล้านบาทต่อปี ช่วยสร้างงานและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่ชุมชน

S__5480471

สาร LAB เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและสารซักล้าง ด้วยเงินลงทุนกว่า 12,000 ล้านบาท จัดเป็นโครงการผลิตสาร LAB รายแรกและรายเดียวของประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่ง มีกำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี โดยได้ทำการผลิตเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา

โครงการผลิตสาร LAB นี้ มีการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียจาก 14 ชุมชนรอบพื้นที่โครงการอย่างเป็นทางการตามกฎหมายเรียบร้อยแล้วเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา รวมทั้งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการก็ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการเรียบร้อยแล้ว

รองผู้ว่าชลฯ ร่วมสังเกตการณ์ซ้อมแผนกรณีอุบัติเหตุจากการขนส่งสารเคมี และวัตถุอันตราย

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี ซ้อมแผนกรณีอุบัติเหตุจากการขนส่งสารเคมี และวัตถุอันตราย เตรียมความพร้อม และพัฒนากลไกของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์

(13 พ.ค.) จังหวัดชลบุรี โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดโครงการฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี ประจำปีงบประมาณ 2559 โดยมี นายเชาวลิต แสงอุทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เข้าร่วมสังเกตการณ์ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นบริเวณพื้นที่เทศบาลตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

$RITWQKU

โดยจำลองเหตุการณ์กรณีอุบัติเหตุจาการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายไวนิล อะซีเตต UN 1301 บรรจุใน Iso Tink ขนาด 20 ตัน เฉี่ยวชนกับรถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง UN1202 และตกลงไหล่ทางด้านซ้าย บริเวณหน้าตลาดเขาไม้แก้ว บนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 ช่องทางบ่อวินต่างระดับโป่ง (บริเวณสี่แยกเขาไม้แก้ว) ม.1 ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง เป็นเหตุให้สารเคมีรั่วไหล มีประชาชนที่ยืนรอรถโดยสารบริเวณหน้าตลาดเขาไม้แก้ว ได้รับบาดเจ็บ 35 ราย และประชาชนบริเวณใกล้เคียงได้รับผลกระทบกลิ่นสารเคมี จำนวน 50 คน

อบต.เขาไม้แก้ว อพยพประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงที่เกิดเหตุไปยังศูนย์พักพิงของ อบต.เขาไม้แก้ว โดยได้ประสานหน่วยงานต่างๆ เข้าไปดูแลผู้อพยพเรียบร้อยแล้ว พร้อมประสานผู้บังคับบัญชาเข้าควบคุมสถานการณ์ โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าระงับเหตุ พร้อมกันนั้น ได้ประสานกรมควบคุมมลพิษเข้ามาตรวจสอบสารพิษตกค้างเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน

อย่างไรก็ตาม การเลือกพื้นที่ดังกล่าวเป็นเส้นทางการขนส่งสารเคมีวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (จ.ระยอง) ไปยังภาคอุตสาหกรรม และภูมิภาคอื่น และบริเวณข้างเคียงพื้นที่ฝึกซ้อมยังเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งในกระบวนการผลิตจำเป็นต้องใช้สารเคมีเป็นวัตถุดิบ

$RCV5CG5

ดังนั้น จังหวัดชลบุรี จึงได้คัดเลือกพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ฝึกซ้อมเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องระบบบัญชาการเหตุการณ์ระหว่างหน่วยงาน ในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน การติดต่อสื่อสาร การจัดการทรัพยากร การปฏิบัติในการระงับแหตุที่เกิดจากการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตราย การทราบถึงข้อมูลการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายในพื้นที่ ผู้เข้ารับการฝึกมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยขึ้น

ภาพ/ข่าว เก่งลิง