คลังเก็บป้ายกำกับ: น้ำส้มคั่น

สาธารณสุขเมืองพัทยา ยันน้ำส้มคั่นในตลาดเมืองพัทยารับประทานได้ พร้อมเร่งตามตัวผู้กระทำผิด

IMG_2359
สาธารณสุขเมืองพัทยา ยังคงยืนยันว่าน้ำส้มคั่นที่จำหน่ายตามท้องตลาดในเมืองพัทยายังสามารถรับประทานได้ เนื่องจากตรวจไม่พบการปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และสารที่เป็นอันตราย แต่อยากเน้นให้ผู้บริโภคซื้อที่มี อย. วันผลิต และวันหมดอายุ ส่วนผู้ที่กระทำความผิดจะเร่งติดตามตัว และเข้าสู่ขบวนการกฎหมายต่อไป

พัทยา-(24 พ.ค. 59) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ ห้องประชุม 241 ศาลาว่าการเมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี นายรัตนชัย สุทธิเดชานัย ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมสภาเมืองพัทยา พร้อมด้วย นางบุปผา ส่งสกุลชัย หัวหน้างานฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สำนักการสาธารณสุขเมืองพัทยา ร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับปัญหาที่พ่อค้าใช้น้ำประปาผสมหัวเชื้อส้ม แล้วนำมาจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว โดยมีสมาชิกสภาเมืองพัทยา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน เข้าร่วมรับฟังในครั้งนี้

หลังมีกระแสข่าวเกี่ยวกับคลิปวีดีโอที่ทางพ่อค้าน้ำส้มคั้นหัวใสได้นำขวดกรอกน้ำประปาผสมหัวเชื้อน้ำส้มแล้วนำมาขายให้กับนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ซึ่งเป็นการสร้างความเสียหายแก่ภาพลักษณ์เมืองพัทยาเป็นอย่างมากIMG_2358

นายรัตนชัย ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมสภาเมืองพัทยา เปิดเผยว่า ทางเมืองพัทยาได้ให้ความในใจในเรื่องที่เกิดขึ้น และมีการดำเนินงานติดตามอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากเมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวได้มีผู้คนเข้ามาเป็นจำนวนมากต่างเข้ามาหารายได้เพื่อการดำรงชีวิต แต่ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่ในภาพรวมในเรื่องของขบวนการดูแลควบคุมในเรื่องอาหารทางสาธารสุข เมืองพัทยาก็ได้ลงพื้นที่ และให้คำแนะนำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผู้ประกอบการบางรายฝ่าฝืนจนทำให้เกิดผลเสีย และเป็นการทำลายภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของเมืองพัทยา

ด้าน นางบุปผา หัวหน้างานฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สำนักการสาธารณสุขเมืองพัทยา กล่าวว่า หลังจากได้รับข่าวก็ได้ลงพื้นที่ไปตามหาบุคคลที่สร้างความเสื่อมเสียแต่ก็หาไม่พบ แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ก็ได้เก็บตัวอย่างน้ำส้มคั่น มาทำการตรวจสอบว่าได้มีการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียหรือไม่ แต่ในการตรวจทางเรายังไม่พบสิ่งที่เป็นอันตราย และในส่วนการตรวจว่าน้ำส้มที่จำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดนั้นเป็นน้ำส้มแท้ 100 เปอร์เซ็น หรือไม่ ต้องมีการนำตัวอย่างน้ำส้มส่งไปยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ชัดอีกครั้ง

S__3309595

แต่อย่างไรก็ตามทาง เมืองพัทยา หรือสำนักการสาธารณสุขเมืองพัทยา ให้การยืนยันว่าน้ำส้มคั่น ที่มีจำหน่ายในเมืองพัทยา สามารถซื้อรับประทานได้อย่างปลอดภัย 100 เปอร์เซ็น เนื่องจากเมืองพัทยาได้มีการมาตรการในการตรวจสอบในทุกๆ ร้าน ทุกโรงงานผลิต ให้ดำเนินการขอ อย. เพื่อความเป็นมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค และทางสำนักการสาธารณสุขเมืองพัทยา จะได้มีการกำหนดกฎหมายควบคุมในเรื่องของอาหารเฉพาะเมืองพัทยา เสนอผ่านสภาเมืองพัทยาให้เป็นกฎบัญญัติต่อไป

ชมวีดีโอแถลงการ

https://www.facebook.com/pattayaupdatenews/videos/506279409563399/?pnref=story

สาธารณสุขพัทยา ลงพื้นที่ตรวจร้านน้ำส้มคั้น หลังคลิปพ่อค้านำน้ำประปาผสมหัวเชื้อส้มโผล่

พัทยา-(23 พ.ค. 59) เวลา 10.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สำนักการสาธารณสุขเมืองพัทยา นำโดย นางบุปผา ส่งสกุลชัย นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านขายน้ำส้มคั้น บริเวณท่าเที่ยวเรือท่องเที่ยว (แหลมบาลีฮาย) พัทยาใต้ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี หลังมีกระแสข่าวเกี่ยวกับ พ่อค้าน้ำส้มคั้นหัวใส นำขวดกรอกน้ำประปาผสมหัวเชื้อน้ำส้ม ขายให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ภาพลักษณ์เมืองพัทยาเป็นอย่างมาก

S__25567268

เนื่องจากยังไม่มีการร้องเรียนจากผู้บริโภค การลงพื้นที่ครั้งนี้จึงเป็นการเฝ้าระวัง เพื่อตรวจสอบความสะอาดสุขอนามัย เบื้องต้นพบว่า มีร้านขายน้ำส้มคั้นในบริเวณดังกล่าวอยู่ 2-3 ร้าน และจากการตรวจสอบยังไม่พบพ่อค้าต้องสงสัยคนในข่าวแต่อย่างใด

สอบถาม นางสุปราณี ปราณพยับ อายุ 54 ปี เล่าว่า ตนเองขายน้ำส้มบริเวณท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮายมามากกว่า 8 ปี วิธีการจะทำวันต่อวันโดยใช้น้ำส้มแท้คั้นสด ผสมกับน้ำส้มสังเคราะห์ที่ซื้อจากห้างสรรพสินค้า (ไม่ใสสารกันบูด) แล้วนำมาใสขวดพลาสติกมาจำหน่ายในราคา 20 บาทต่อขวด ซึ่งจัดเตรียมมา 200 ขวด ในวันปกติ และ 400 ขวดในวันหยุดเทศกาล ซึ่งจะขายหมดทุกครั้ง หากมีตกค้างบ้างจะไม่นำมาขายต่อ ส่วนกระแสข่าวเกี่ยวกับพ่อค้าน้ำส้ม ตนเองรู้สึกไม่ดีและเสียใจ เนื่องจากทำให้อาชีพของตนที่ทำมานานเสื่อมเสีย อีกทั้งหลังจากมีกระแสข่าวออกไป ส่งผลให้ยอดขายน้ำส้มของตนลดลง แต่ตนจะไม่ย่อท้อเพราะมั่นใจในรสชาติและความสะอาด

S__25567269

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จึงทำการเก็บตัวอย่างน้ำส้ม ขวดพลาสติกที่ใช้ และส่วนผสมต่างๆ เพื่อนำไปตรวจสอบความสะอาด และการเจือบนของแบคทีเรีย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน ก่อนประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพื่อหามาตรการควบคุมดูแล และดำเนินการกับผู้กระทำความผิดต่อไป

ภาพ/ข่าว รุ่ง อินดี้