ผบก.ทท. เปิดประชุมหามาตรการป้องกันอุบัติเหตุระหว่าง นทท.เดินทางเล่นน้ำ

ผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยวลุยเมืองพัทยาเปิดประชุมการพิจารณาหาแนวทางและมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในระหว่างเดินทางหรือเล่นกิจกรรมทางน้ำ

IMG_3413

พัทยา-(6 มิ.ย. 59) เมื่อเวลา 13.00 น. พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบก.ทท. เป็นประธานเปิดการประชุมการพิจารณาหาแนวทางและมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในระหว่างเดินทางหรือเล่นกิจกรรมทางน้ำ ที่ห้องประชุมทัพพระยา ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี โดยมี นายบุญชัย ทันสมัย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี นายชาคร กัญจนวัตตะ นายอำเภอบางละมุง นายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา นายเอกราช คันธโร ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาพัทยา และ พ.ต.ต.ปิยะพงษ์ เอนสาร สว.ส.ทท.4 บก.2 รวมถึงตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

IMG_3414

เนื่องด้วยเวลาประมาณ 13.30 น.ของวันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา Mr.Aloysius NIRMALARAJAN อายุ 37 ปี นักท่องเที่ยวศรีลังกา ได้ใช้บริการเรือลากร่มของ บ.สยามโลคอล จก. ชื่อเรือสถาพร เอสเค 7 ที่มีนายจำลอง อยู่สวัสดิ์ อายุ 48 ปี เป็นผู้ควบคุมเรือ หลังจากเล่นได้ 2 นาที ขณะกำลังลงสู่แพ เกิดกระแสลมอ่อนทำให้ร่มพาราเซลตกลงมากระแทกพื้นเรือโดยสารที่จอดลอยลำอยู่ใกล้กันจนหมดสติ ก่อนจะนำส่งโรงพยาบาลแต่เสียชีวิตในเวลาต่อมา

IMG_3400

จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างรุนแรงด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวจึงได้เดินทางมายังเมืองพัทยาเพื่อประชุมหาแนวทางและมาตรการการป้องกันลดอุบัติ โดยในที่ประชุมได้มีการนำเสนอวิดีทัศน์เกี่ยวกับแนวทางและมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในระหว่างเดินทางหรือเล่นกิจกรรมทางน้ำ โดยรายงานสภาพปัญหาที่พบที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บทั้งเรื่องการว่ายน้ำและเกิดการจมน้ำ อุบัติเหตุจากการดำน้ำ อุบัติเหตุจากการเล่นเครื่องเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ ทางน้ำ และอุบัติเหตุจากการโดยสารเรือและยานพาหนะทางน้ำ ที่มีองค์ประกอบจากเครื่องเล่น ที่ด้อยคุณภาพหรือขาดมาตรฐาน ผู้ควบคุม ขาดทักษะ ความชำนาญ หรือประสบการณ์น้อย รวมถึงสถานที่เล่นที่ไม่ชัดเจนหรือไม่มีกำหนด ไม่มีสัญลักษณ์แสดงให้เห็น หรือผู้ควบคุมไม่ทราบเหตุการณ์

IMG_3401

ทั้งนี้ แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหานั้นต้องมีการบูรณาการหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งหน่วยงานหลัก คือ กรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ และท้องถิ่น หน่วยงานรอง คือตำรวจพื้นที่ ตำรวจท่องเท่ียว ฝ่ายปกครองและฝ่ายทหาร รวมถึงหน่วยสนับสนุน คือ ภาคเอกชน ธุรกิจ สื่อมวลชนและประชาชน รวมถึงหน่วยงานเสริมหน่วยงานในสังกัด บช.ก. โดยแบ่งการปฏิบัติในระยะเร่งด่วน เป็นด้านการป้องกันและป้องปรามนั้น จะมีการบูรณาการกำลัง ออกตรวจป้องกันและเฝ้าระวัง เครื่องเล่นต่างๆ ทางน้ำ ผู้ควบคุม อุปกรณ์ส่วนควบคุมต่างๆ ที่ให้บริการนักท่องเที่ยวให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ด้านปราบปราม จะได้บูรณาการกำลังตรวจจับผู้ประกอบการ ผู้ควบคุมเครื่องเล่นทางน้ำที่ยังไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

IMG_3407

และในส่วนด้านการประชาสัมพันธ์ จะได้เชิญผู้ประกอบการมาทำความเข้าใจให้ช่วยกันทำตามกฎหมาย โดยชี้ให้เห็นถึงผลเสียจากการกระทำความผิดและขอทราบปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้องของผู้ประกอบการ และหากสามารถช่วยเหลือ แก้ไขให้กับผู้ประกอบการได้ หน่วยงานรัฐก็ควรช่วยเหลือ เช่น อาจมีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบบางประการ รวมถึงโน้มน้าว ชักจูงให้ผู้ประกอบการมาเป็นแนวร่วมภาคประชาชนของหน่วยงานรัฐ เพื่อที่จะได้ช่วยเป็นผู้เฝ้าระวัง คอยแจ้งเหตุเมื่อพบการกระทำความคิด อีกทั้งยังช่วยโน้มน้าวเพื่อร่วมอาชีพให้มาปฏิบัติตามกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนเหตุต่อเจ้าหน้าที่ หากประสบเหตุต่อไปด้วย

ข่าว/เก่งลิง

ดูแผนที่ไปยัง “เมืองพัทยา”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น